12.2.54

นวัตกรรม ชุดการสอน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค33101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

สำรวจนวัตกรรมที่ใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน(ค33101) ช่วงชั้นที่ 3     สามารถแยกนวัตกรรมที่มีอยู่ได้ดังนี้ 

1.     นวัตกรรรมตามกระแส  ได้แก่ E-book ข้าพเจ้าได้จัดทำไว้ 2 เรื่อง    คือ                  

-   เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึม คลิกดูตัวอย่างที่นี่ 

-         เรื่อง ความคล้าย คลิกดูตัวอย่างที่นี่ 

          2.  นวัตกรรมเตรียมไว้สำหรับการประเมิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าใช้เทคโนโลยีใน  การจัดการเรียนการรู้  ได้แก่  power point  แต่ในห้องเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์ ต้องนำไปสอนในห้องโสตทัศนศึกษาหรือห้องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ได้รับความสะดวก  เพราะห้องไม่ว่าง  คลิกดูตัวอย่างที่นี่      

3.  นวัตกรรมที่ใช้จัดการเรียนรู้เป็นสื่อที่ทำจากพีพีบอร์ด นักเรียนสามารถสัมผัสและจัดต้องได้ ได้แก่ รูปคลี่ออกของปริซึมตามลักษณะของฐาน ตัดเป็นรูปปริซึมหน้าตัดเป็นรูปต่าง ๆ และทำเป็นรูปคลี่ออกโดยทำให้เป็นชิ้นใหญ่ นำมาให้นักเรียนศึกษามองเห็นได้ชัดเจน  เช่น §ปริซึม หน้าตัดเป็นรูปสามสามเลี่ยม§  ปริซึม หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม   § ปริซึม หน้าตัดเป็นรูปห้าเหลี่ยม  เป็นต้น   

 

 

 4. นวัตกรรมประเภทเอกสารประกอบการเรียนรู้

  ข้าพเจ้าขอเสนอนวัตกรรม ประเภทเอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค33101) ช่วงชั้นที่ 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระบบสมการเชิงเส้น

4.1 สาเหตุและวิธีการจัดทำนวัตกรรม

          การสอนวิชาคณิตศาสตร์  ซึ่งเป็นนามธรรม ทำให้นักเรียนไม่อยากเรียนเพราะทำความเข้าใจได้ยาก  ในห้องเรียนไม่มีสื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้ใช้ในการเรียนการสอน  มีเพียงกระดาน และชอล์คเท่านั้น การสอนวิชานี้โรงเรียนให้ใช้หนังสือของ กระทรวงศึกษา หลักสูตรของ สสวท.  นักเรียนบางคนไม่ได้นำหนังสือ สมุด และอุปกรณ์การเรียนมาข้าพเจ้าในฐานะครู หรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  จึงจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้  เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่ง ประกอบด้วย ใบความรู้  แบบฝึกทักษะ  และแบบทดสอบ 

4.2 การสร้างและพัฒนาสื่อ 

ข้าพเจ้าได้ศึกษาหนังสือหลายเล่ม  และยึดเนื้อหาตามหลักสูตรของสถานศึกษา และของสสวท. เก็บรวบรวมโจทย์หลากหลายลักษณะ  เรียงลำดับจากง่ายไปยากโดยทำใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา  และใช้ประกอบการอธิบายของครู  และมีเอกสารแบบฝึกทักษะ  ให้นักเรียนได้ฝึกทำ  และจัดทำแบบทดสอบเพื่อใช้วัดผลการเรียนรู้  นำไปใช้สอนจริงและทำการปรับปรุงเรื่อยมา  และได้ผ่านการทำการวิจัยเรื่อง  การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องระบบสมการเชิงเส้น แล้ว ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

4.3  ผลของการใช้นวัตกรรม

                  4.3.1  จากการสังเกตการณ์ตอบคำถาม  ความตั้งใจเรียนของนักเรียน ข้าพเจ้าคิดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี                                                                                                      

                   4.3.2  การตรวจแบบฝึกทักษะ  นักเรียนสามารถเขียนสื่อความ  แก้ปัญหาโจทย์ได้อยู่ในเกณฑ์ดี   โจทย์บางข้อที่ครูแนะแนวทางไว้แล้วสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือปรึกษากับเพื่อน ๆ

          4.3.3  การทำแบบทดสอบ นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ค่อนข้างดีถึงดีมาก

          4.3.4  เอกสารแบบฝึกทักษะจะช่วยให้นักเรียนที่เรียนอ่อน ขาดเรียน หรือนักเรียนที่มีปัญหาด้านการปกครอง   สามารถเริ่มต้นเรียนได้ทันทีที่อยู่ในห้องเรียน 

          4.3.5  เอกสารแบบฝึกทักษะใช้ได้ดีมากในกรณีที่โรงเรียนจัดกิจกรรมทำให้เวลาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ลดน้อยลง  ในเวลา 1 คาบ และถ้าไม่มีใบความรู้ และ แบบฝึกทักษะ   จะสอนไม่ทัน   นอกจากนี้ยังทำให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น

4.3.6 ทำให้นักเรียนกระตือรือร้นในการคิด  การตรวจคำตอบ  มีการส่งงานเพิ่มขึ้น และส่งงานตรงเวลามากขึ้น

        จากการประเมินสอบถามนักเรียน พบว่าโดยภาพรวมแล้วนักเรียนมีความพึงพอใจในเอกสารประกอบการเรียนการสอนรู้อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจมาก  ขอให้คุณครูจัดทำให้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ 

         นวัตกรรมนี้ยังมีต้องปรับปรุง  คือ ห้องที่นักเรียนเรียนอ่อนเป็นส่วนใหญ่  ไม่สามารถนำแบบฝึกทักษะได้ด้วยตนเอง  ครูต้องร่วมแนะแนวทางการคิดให้นักเรียน          

          ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.กฤษดา กรุดทอง ที่ให้คำแนะนำในการสร้างนวัตกรรม และการประเมินผล
อ.จิราพร  พรายมณี  ที่ให้คำแนะนำในการวิเคราะห์ข้อสอบ

 และ รศ.ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี ที่จุดประกายการคิด ทำให้ข้าพเจ้ารวบรวมงานที่มีอยู่มานำเสนอเป็นเรื่องนวัตกรรม  ได้ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันอย่างภาคภูมิใจ    ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

          1. ตัวอย่างใบความรู้  คลิกที่นี่ 

         2. ตัวอย่างสื่อนำเสนอด้วย power point โจทย์ปัญหา  คลิกที่นี่ 

         3.  ตัวอย่างแบบฝึกทักษะ คลิกที่นี่   และ คลิกที่นี่

          4.  ตัวอย่างแบบทดสอบหลังเรียน  คลิกที่นี่

          5.  ตัวอย่างแบบทดสอบอัตนัย  คลิกที่นี่

          6.  เกณฑ์การให้คะแนนอัตนัย คลิกที่นี่

          7.  power point นำเสนอ ดร.โรส ในชั้นเรียน 7 ก.พ.52  คลิกที่นี่

  

    

http://learners.in.th/blog/chatchaporn5301/246717

English Time

  ผู้แต่ง Susan Rivers และ Setsuko Toyama
Cover

เป็นสื่อนวัตกรรม การสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาระดับ 1-6 หลักสูตรแบบบูรณาการทักษะ
ที่เน้นการสอนเพื่อการสื่อสารและการพัฒนาทักษะภาษาโดยรอบด้าน
ลักษณะเด่นของ English Time
มีหลักสูตรแบบบูรณาการ เน้นการสื่อสาร การพัฒนาคำศัพท์ และโครงสร้างอ่างเป็นระบบต่อเนื่องจากระดับที่ 1 ถึงระดับ ที่ 6แต่ละบทประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 4 หน้า ทำให้น้กเรียนรู้สึกว่าการเรียนก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแรงจูงใจและความเชื่อมั่นในการเรียน แต่ละบทมีตอนที่เป็น Conversation Time ซึ่งเน้นภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เนื้อหาแต่ละบทพิมพ์หน้าคู่ช่วยให้นักเรียนได้เห็นภาพเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นเนื่อเรื่องโดยรวมได้อย่างต่อเนื่องประกอบด้วยตัวละครที่ต่อเนื่องมาจาก Magic Time ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกคุ้นเคย ต่อเนื่องและมีส่วนร่วม พิมพ์สอดสีสวยงาม เป็นภาพในลักษณะการ์ตูน ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจอยากรู้อยากเรียน ท้ายเล่มหนังสือนักเรียนมีเนื้อหาของเพลงทุกๆเพลงของแต่ละบท และสรุปคำศัพท์ของทุก คู่มือครู Teacher's Book ประกอบด้วยหลักสูตรและแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการสอน แผนการสอน เกม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่างๆ เฉลยคำตอบในหนังสือเรียนและแบบฝึกหัด หน้าสำหรับถ่ายเอกสารสอนเสริม ประกาศนียบัตร และข้อทดสอบของทุกๆบท Unit Tests รวมทั้งข้อทดสอบปลายภาคพร้อมเฉลย

11.2.54

บทเรียน CAI วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง หน่วยแสดงผลข้อมูล

     คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI เป็นสื่อการเรียน การสอนที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเพราะนอกจากสีสันที่สวยงามแล้วยังมีลักษณะการทำงานในรูปแบบของสื่อประสม(Multimedia) คือใช้สื่อร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ที่สำคัญคือสามารถ โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์ มีการประเมินผลเพื่อสนองตอบให้กับผู้เรียนอย่างรวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในยุคการศึกษาไร้พรหมแดน 

  วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

โปรแกรมและอุปกรณ์ที่ต้องใช้
   
1. โปรแกรม Microsoft PowerPoint
   2. โปรแกรม Microsoft Producer
   3. โปรแกรม WebQuest
   4. หูฟังที่มีไมค์สำหรับอัดเสียง
   5. เครื่องคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียน
1.เลือกหัวเรื่องบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในที่นี้ ผมได้เลือก เรื่อง     อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในราย วิชาคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
 
2. พิจารณาการเลือกหัวเรื่อง ซึ่งผมได้พิจารณาแล้วว่า การที่จะทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เรื่อง หน่วยแสดงผลข้อมูล นี้สามารถลดภาระการสอนได้จริง และผมก็มีความเข้าใจและทักษะในการสร้างบทเรียนนี้พอสมควร 
3. การออกแบบบทเรียน ซึ่งผมได้ออกแบบไว้ดังนี้

                        

  

4.จัดทำบทเรียนตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนที่ 3
     4.1 จะทำ PowerPoint เรื่องหน่วยแสดงผลข้อมูล 
 

                                      


4.2 จัดทำแบบทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยโปรแกรม WebQuest


4.3 นำไฟล์ PowerPoint และ ไฟล์ข้อสอบ ที่จัดทำในข้างต้น มารวมกันโดยใช้โปรแกรม Microsoft Producer
                           

                        http://www.pirun.ku.ac.th/

   4.4 ทำการบันทึกเสียงบรรยายในหัวข้อต่างๆลงในแต่ละสไลต์  
   4.5 ทดลองแสดงผลงาน
  
4.6 ทำการ Save ( ทำการ
pack and Go )
       5.นำบทเรียนที่ได้ไปสอนเด็ก และอัพโหลดขึ้นระบบอินเทอร์เน็ต
        6.การประเมินผลคุณภาพบทเรียน (Evaluation)
   
ในการประเมินคุณภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI โดยเฉพาะบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างแบบ IMMCAI (Interaction Multimedia Computer Assisted Instruction)
การประเมินคุณภาพบทเรียนนั้นจะประเมินในด้านต่างๆได้แก่
  
6.1
ด้านเนื้อหา
  
6.2 ด้านมัลติมีเดีย
(Multimedia)
       
6.2.1 การใช้ข้อความหรือตัวอักษร
(Text)
       
6.2.2 การใช้ภาพนิ่ง (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีโอ
(VDO)
       
6.2.3 การใช้เสียง
(Audio)
       
6.2.4 การปฏิสัมพันธ์
(Interaction)
  
6.3 ทางด้านเทคนิคและการประยุกต์



อ้างอิง : http://learners.in.th/blog/sumrit/441450

         

ชุดกิจกรรม เรื่องแสง เงา สี และเส้น ชุมนุมฝีไม้ลายมือ

นวัตกรรมคือ ชุดกิจกรรม ชุมนุมฝีไม้ลายมือเรื่องแสง เงา สี และเส้น

จุดมุ่งหมาย  เน้นให้นักเรียนทำงานส่งให้เสร็จภายในชั่วโมงชุมนุมหรือตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นแต่ละชิ้นงานจะกำหนดเวลาส่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง  ( 1. ชั่วโมงต่อสัปดาห์ )  เพื่อไม่ให้ชิ้นงานดูภาระใหญ่เกินความรับผิดชอบของนักเรียน โดยคาดหวังว่านักเรียนจะส่งงานได้ตามเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนรูปแบบของชุดกิจกรรม

ขั้นแรก    กิจกรรมวาดเส้นcontour drawing  ( 1. ชั่วโมง )
เพื่อฝึกให้นักเรียนเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างตากับ มือ โดยครูผู้สอนสาธิตให้ดูก่อนแล้วให้นักเรียนวาดรูปหน้าเพื่อนของตน โดยมีข้อบังคับดังนี้
  1. ห้ามมองกระดาษ
  2. ตามองหน้าหุ่นที่จะวาด
  3. มือวาดเส้น ห้ามยก มือขึ้น


ขั้นที่ 2     กิจกรรมแสงเงาเบื้องต้น ( 1. ชั่วโมง ) 
                เพื่อให้นักเรียนแยกแยะค่าน้ำหนักแสงเงาได้   และเป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่อไป โดยมีลักษณะรายละเอียดชิ้นงานดังนี้
  1. ตีกรอบ 6 กรอบเรียงกัน  ขนาด 3 × 5 เซนติเมตร
  2. ใช้ดินสอ 2Bขึ้นไป แรเงาค่าน้ำหนักจากสว่างที่สุด ไปยัง มืดที่สุด 6 ค่า
  3. ให้จับคู่ อภิปรายผลงานของเพื่อน


ขั้นที่ 3     กิจกรรมวาดภาพสิ่งรอบตัวด้วยปากกาสี ( 1. ชั่วโมง ) 
                เพื่อให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในการสร้างงานศิลปะด้วยปากกาเพราะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้  โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. เลือกหุ่นนิ่ง คนละ 2 อย่างขึ้นไป นำมาจัดวาง
  2. หามุ่มเพื่อวาด โดยเริ่มจาก ร่างเส้นด้วยดินสอ เมื่อได้รูปร่างตำแหน่งของภาพที่สวยงาม ค่อยลงเส้นด้วยปากกาสี
  3. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน


ขั้นที่ 4     กิจกรรมสร้างภาพด้วยจุด ( 2. ชั่วโมง )
                เป็นชิ้นงานสุดท้ายในชุดกิจกรรมนี้ เพื่อฝึกการผสมสีโดยการใช้จุด ชิ้นงานเน้นความละเอียดประณีตสามารถนำไปจัดแสดงในงานวันวิชาการได้  และมุ่งหมายให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพได้เต็มที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. เลือกภาพที่ชอบเพื่อเป็นต้นแบบ
  2. กำหนดชิ้นงานมีขนาด A4  แล้วร่างแบบ
  3. ลงจุดให้ครบทั้งภาพ
  4. นำเสนอผลงานหน้าชั้น หาข้อบกพร่องและแก้ไขเพิ่มเติม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้นวัตกรรม

     1. หลังจากได้เริ่มใช้นวัตกรรม ครูผู้สอนและนักเรียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยลดช่องว่าง นักเรียนกล้าที่จะถามและพูดคุย พร้อมขอคำแนะนำทั้งเรื่องเกี่ยวกับวิชาศิลปะ และเรื่องส่วนตัวของนักเรียน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีการรับรู้เร็วขึ้นและพัฒนาได้ไว
     2. หลังจากได้ใช้นวัตกรรมมาได้ระยะหนึ่ง ทำให้ครูผู้สอนทราบถึงปัญหาด้านทักษะ การเรียนรู้ของนักเรียนกับวิชาศิลปะ และนำมาวางรูปแบบกิจกรรมในครั้งต่อไปเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน
     3. นวัตกรรมนี้ได้ปรับทัศนะคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาศิลปะ หลากหลายคนให้เป็นไปในแง่ที่ดีขึ้น โดยนักเรียนเพิ่มความเข้าใจที่ว่า ศิลปะไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนฝีมือ  ทุกคนสามารถสร้างงานออกมาให้ดีได้

ตัวอย่างผลงานของนักเรียน





โปรแกรม "NetSupport School" ช่วยครูออกแบบนวัตกรรม

       โปรแกรม "NetSupport School" โซลูชั่นชั้นแนวหน้าที่จะช่วยเหลือให้ครูในโรงเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการฝึกอบรม (training) และสอนนักเรียน ควบคุมการทำงานผ่านระบบเครือข่าย มีครูเป็นคนคอยจัดการทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ โดยตัวโปรแกรมเองมีความสามารถในการตรวจสอบและโต้ตอบกับนักเรียนทั้งรายบุคคล และตามกลุ่มที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้อย่างมืออาชีพและยอดเยี่ยม (ขั้นตอนการออกแบบและการใช้โปรแกรมคลิกที่นี่)
                ซึ่งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนมาช่วยในการเรียนการสอนนั้นทำให้นักเรียน นักศึกษา ที่มีจำนวนมาก ๆ ได้เรียนรู้อย่างทั่วถึง  เพราะการใช้ "NetSupport  School" ยังทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เหมือนการสอนแบบตัวต่อตัวและครูผู้สอนสามารถควบคุมการฝึกปฏิบัติ การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักเรียน  นักศึกษาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโปรแกรมสำเร็จรูปนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นการประจำ  การควบคุมร้าน Internet เป็นต้น
นวัตกรรมของฉันเริ่มต้นจากการสังเกตสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้จากโปรแกรมนำเสนอแบบเดิม ๆ ที่อาจารย์ทุกท่านใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นก็คือโปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office PowerPoint  ซึ่งเป็นสื่อและนวัตกรรมที่ดีมากชนิดหนึ่งเหมาะกับการจัดการเรียนการสอนที่มีนักเรียนไม่จำนวนไม่มาก  แต่ในรายวิชาที่ผมสอนนั้นมีนักเรียนจำนวนมากซึ่งทำให้การจัดการเรียนการสอนนั้นต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ทางโรงเรียนจึงได้นำเอานวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียกว่า  Netsupport  School  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับซอฟแวร์ตัวนี้กันก่อน 

                 Netsupport School เป็นโซลูชั่นการฝึกอบรมระดับชั้นนำซอฟแวร์, การให้ครูที่มีความสามารถในการออกคำสั่งตรวจสอบและโต้ตอบกับนักเรียนของพวกเขาทั้งสองเป็นรายบุคคลว่าเป็นกลุ่มที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือไปเรียนโดยรวมรวมในชั้นเรียนการตรวจสอบขั้นสูง PC, การนำเสนอเรียลไทม์และเครื่องมือหมายเหตุด้วยนวัตกรรมชุดทดสอบเองให้อินเทอร์เน็ตและการควบคุม Application, การวางแผนการสอนอัตโนมัติ, Printer Management, Instant Messenger การควบคุม, การตรวจสอบเนื้อหาและ Desktop Security, นี้รุ่นล่าสุดของ NetSupport  โรงเรียนมีความต้องการเพิ่มขึ้น  ความท้าทาย  และความต้องการของห้องเรียนที่ทันสมัยในปัจจุบันด้วย NetSupport โรงเรียนครูผู้สอนและผู้ฝึกอบรมสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในชั้นเรียน และยังทำการตลาดให้นักเรียนได้เห็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยของโรงเรียนอีกด้วย
                 เมื่อเราได้ทำความรู้จักกับ Netsupport School  กันแล้ว ผมก็ได้นำสื่อที่ทันสมัยนี้มาออกแบบการเรียนการสอนโดย
                1.  กำหนดเนื้อหารายวิชาตามแผนการสอน  เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการสร้างแผนผังองค์กร วงจรชีวิตของผีเสื้อ  ด้วย SmartArt ในโปรแกรม Microsoft Office Word


         

                2.  สร้าง  ออกแบบ นวัตกรรม โดยศึกษาจากปัญหาที่พบ และให้สอดคล้องกับผู้เรียน  โรงเรียนจึงดำเนินการวางระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะได้ห้องฝึกปฏิบัติในฝันให้กับนักเรียน  นักศึกษาได้เรียนรู้ และสามารถปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  พร้อมทั้งยังช่วยให้ครูผู้สอนสามารถควบคุมชั้นเรียนและดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างดีทั้งที่มีจำนวนนักเรียนมากในห้องเรียน

     

                3.  นวัตกรรม และการเลือกใช้สื่อ  หลังจากโรงเรียนได้วางระบบเรียบร้อยแล้วจึงได้นำซอฟแวร์สำเร็จรูปที่เรียกว่า  NetSupport  School  เป็นโปรแกรมชั้นนำที่มีความสามารถในการใช้งานเป็นอย่างดีที่ช่วยครูผู้สอนได้นำแผนการเรียนการสอนมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรมนี้

     


                 4.  ทดลองใช้นวัตกรรม  เมื่อศูนย์สารสนเทศของโรงเรียนได้นำโปรแกรม  NetSupport  School  ดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยแล้วได้จัดให้มีการอบรมครูผู้สอนได้ทดลองใช้นวัตกรรม หรือโปรแกรม  NetSupport  School เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ปฏิบัติการเรียนการสอนให้กับนักเรียน  นักศึกษาได้เต็มประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรม

                    


                5.   สรุปผลการทดลองใช้สื่อ  นวัตกรรม และเทคโนโลยีฯ  หลังจากที่ครูผู้สอนที่ได้นำแผนการเรียนมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรม NetSupport  School ในการจัดการเรียนการสอนทำให้นักเรียนได้ความรู้เหมือนกับครูผู้สอนนั้นได้ทำการสอนแบบตัวต่อตัว  เพราะรูปแบบของการนำ NetSupport  School มาใช้นั้นเป็นรูปแบบการสอนแบบสาธิต  ทำให้ดู   แล้วจึงผู้เรียนปฏิบัติตามครูผู้สอน เมื่อได้ทำการวัดและประเมินการฝึกปฏิบัติผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามครูผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามแบบครูผู้สอน  และโปรแกรมนี้ยังช่วยให้ครูผู้สอนควบคุมการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  ช่วยลดการเล่นเกมส์  การมองไม่เห็นในการใช้สื่อแบบอื่น   และเข้า  Internet ในเว็ปไซด์ที่ไม่เหมาะสมที่ผิดกฎหมายหรือไม่เกี่ยวข้องกับสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาของนักเรียน นักศึกษาได้อย่างดีเยี่ยม

                        


อ้างอิง : http://learners.in.th/blog/mu1975/440336

การออกแบบสื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Flash

โดยอาจจะทำแบบ ข้อสอบ ที่รวมผลคะแนนได้
โดยเริ่มแรกหา Background ที่จะใช้ในหานั้นๆ โดย เริ่มจากเปิดโปรแกรม

เข้าไปดังภาพ ข้างล่าง


เลือกภาพที่ต้องการจะนำมาเป็น Backgroundแล้วเลือก Open


Background จะอยู่ในช่องด้านขวามือ library ลากภพมากลางจอ และกำหนดขนาดที่ต้องการ อยู่ที่ ซ้ายล่างของจอ ในช่อง Properties


จากนั้นก็ไปหา ปุ่ม ที่จะมาเป็นตัวเลือก หรือ Choice ตามภาพข้างล่าง


เลือกหาปุ่มที่ต้องการ


จากนั้นเมื่อได้ปุ่มแล้ว ก็ลองพิมข้อความใส่ในปุ่ม และคำตอบซัก 1 ข้อ


และทำไปเรื่อยๆ จนได้มาเป็นข้อสอบ 1ข้อ


จากนั้นให้ เราคลิกที่ปุ่ม แล้วกด F9
สำหรับโค้ดที่ใส่ในข้อที่ถูกของหน้าที่ 1 คือ
on (release) {
pointz = 1;
nextFrame();
}
สำหรับโค้ดที่ใส่ในข้อที่ผิดของหน้าที่ 1 คือ
on (release) {
 pointz = 0;
 nextFrame();
}
ส่วนหน้า ต่อๆไป ข้อที่ถูก
on (release) {
 pointz = pointz+1;
 nextFrame();
}
ข้อที่ผิด
on (release) {
 pointz = pointz+0;
 nextFrame();
}
ในกรณีนี้โค้ด ผมได้มีการนำมาดัดแปลงเอง มันสามารถเขียนได้หลายแบบ แล้วแต่ คนที่เขียนต้องการจะใช้แบบไหน


และเมื่อเราได้ทำมาถึง เฟรม ที่จะรวมคะแนน ทั้งหมดในข้อสอบ
ให้เราสร้าง กรอปข้อความที่เป็น Dynamic Text ซึ่งจะอยู่ให้เลือกใน Properties
และ ให้ใส่ ช่อง Var ว่า Pointz เพื่อที่ ช่องนี้จะสามารถ สรุปคะแนนผลข้อสอบที่ทำมาทั้งหมดเป็นยอดรวม

     
       และนี่คือการออกแบบ นวัตกรรมของผมแบบคร่าวๆ ซึ่งเป็นการนำเอา โปรแกรม Flash มาผสมผสาน กับการ ทำข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผมได้เลือกใช้โปรแกรมนี้คือ อาจจะเป็นโปรแกรมที่ผมใช้ได้ดีที่สุดในตอนนี้ และในตัวโปรแกรม Flash ยังมีลูกเล่นที่หลากหลาย อีกมากมาย


อ้างอิง : http://learners.in.th/blog/i3luezife/436708

การสอนอนุบาลโดยใช้สื่อใกล้ตัว

                                                          http://gotoknow.org/file/adekdee/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A204.jpg
               สื่อมีความสำคัญสำหรับการสอนอนุบาลมาก เพราะเด็กยังไม่สามารถรับรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมได้ การใช้สื่อจะช่วยให้เด็กมองเห็นภาพ สร้างเสริมจินตนาการแบบรูปธรรมที่เห็นชัดเจน สื่อมีหลายชนิด แต่สื่อที่มีประสิทธิภาพใกล้ตัวและหาง่าย คือ นิ้วมือของครู และเศษวัสดุเหลือใช้นั่นเอง
              สื่อสำหรับเด็กอนุบาลเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กมาก สื่อต้องเป็นรูปธรรม ในที่นี้จะกล่าวถึงสื่อประเภทใกล้ตัว
สื่อที่ติดตัวมากับตัวครู
              สื่อที่ติดตัวมากับครูคือนิ้วมือ ครูสามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ประกอบการเล่น ประกอบการร้องเพลง ได้อย่างสนุกสนาน ขึ้นอยู่กับครูจะนำมาใช้ในรูปแบบใด นิ้วมือสามารถนำมาใช้เป็สื่อประกอบการเรียนการสอนให้เด็กเกิดความสนุกสนาน และเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ให้แก่เด็กได้ดี โดยเฉพาะในด้านภาษาเพราะในการเล่นนิ้วมือส่วนใหญ่ใช้ประกอบกับการพูด คำคล้องจอง ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของการเล่นสมมุติ การเล่านิทาน ฯลฯ
การใช้นิ้วมือเป็นสื่อประกอบการสอนคำคล้องจอง
                เช่น การสอนคำคล้องจองโดยใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว ทำท่าเดินตามคำคล้องจอง ต่อไปนี้
                   ปิ๊ดปี้ปิ๊ด ทหารเดินหน้า ก้าวขาทีละนิด
                    ปิ๊ดปี้ปิ๊ด ทหารเดินตรง ถอยลงทีละนิด
  อ้างอิง :  http://gotoknow.org/blog/adekdee/46899