11.2.54

ชุดกิจกรรม เรื่องแสง เงา สี และเส้น ชุมนุมฝีไม้ลายมือ

นวัตกรรมคือ ชุดกิจกรรม ชุมนุมฝีไม้ลายมือเรื่องแสง เงา สี และเส้น

จุดมุ่งหมาย  เน้นให้นักเรียนทำงานส่งให้เสร็จภายในชั่วโมงชุมนุมหรือตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นแต่ละชิ้นงานจะกำหนดเวลาส่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง  ( 1. ชั่วโมงต่อสัปดาห์ )  เพื่อไม่ให้ชิ้นงานดูภาระใหญ่เกินความรับผิดชอบของนักเรียน โดยคาดหวังว่านักเรียนจะส่งงานได้ตามเวลาที่กำหนด

ขั้นตอนรูปแบบของชุดกิจกรรม

ขั้นแรก    กิจกรรมวาดเส้นcontour drawing  ( 1. ชั่วโมง )
เพื่อฝึกให้นักเรียนเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างตากับ มือ โดยครูผู้สอนสาธิตให้ดูก่อนแล้วให้นักเรียนวาดรูปหน้าเพื่อนของตน โดยมีข้อบังคับดังนี้
  1. ห้ามมองกระดาษ
  2. ตามองหน้าหุ่นที่จะวาด
  3. มือวาดเส้น ห้ามยก มือขึ้น


ขั้นที่ 2     กิจกรรมแสงเงาเบื้องต้น ( 1. ชั่วโมง ) 
                เพื่อให้นักเรียนแยกแยะค่าน้ำหนักแสงเงาได้   และเป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่อไป โดยมีลักษณะรายละเอียดชิ้นงานดังนี้
  1. ตีกรอบ 6 กรอบเรียงกัน  ขนาด 3 × 5 เซนติเมตร
  2. ใช้ดินสอ 2Bขึ้นไป แรเงาค่าน้ำหนักจากสว่างที่สุด ไปยัง มืดที่สุด 6 ค่า
  3. ให้จับคู่ อภิปรายผลงานของเพื่อน


ขั้นที่ 3     กิจกรรมวาดภาพสิ่งรอบตัวด้วยปากกาสี ( 1. ชั่วโมง ) 
                เพื่อให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในการสร้างงานศิลปะด้วยปากกาเพราะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้  โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. เลือกหุ่นนิ่ง คนละ 2 อย่างขึ้นไป นำมาจัดวาง
  2. หามุ่มเพื่อวาด โดยเริ่มจาก ร่างเส้นด้วยดินสอ เมื่อได้รูปร่างตำแหน่งของภาพที่สวยงาม ค่อยลงเส้นด้วยปากกาสี
  3. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน


ขั้นที่ 4     กิจกรรมสร้างภาพด้วยจุด ( 2. ชั่วโมง )
                เป็นชิ้นงานสุดท้ายในชุดกิจกรรมนี้ เพื่อฝึกการผสมสีโดยการใช้จุด ชิ้นงานเน้นความละเอียดประณีตสามารถนำไปจัดแสดงในงานวันวิชาการได้  และมุ่งหมายให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพได้เต็มที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. เลือกภาพที่ชอบเพื่อเป็นต้นแบบ
  2. กำหนดชิ้นงานมีขนาด A4  แล้วร่างแบบ
  3. ลงจุดให้ครบทั้งภาพ
  4. นำเสนอผลงานหน้าชั้น หาข้อบกพร่องและแก้ไขเพิ่มเติม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้นวัตกรรม

     1. หลังจากได้เริ่มใช้นวัตกรรม ครูผู้สอนและนักเรียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยลดช่องว่าง นักเรียนกล้าที่จะถามและพูดคุย พร้อมขอคำแนะนำทั้งเรื่องเกี่ยวกับวิชาศิลปะ และเรื่องส่วนตัวของนักเรียน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีการรับรู้เร็วขึ้นและพัฒนาได้ไว
     2. หลังจากได้ใช้นวัตกรรมมาได้ระยะหนึ่ง ทำให้ครูผู้สอนทราบถึงปัญหาด้านทักษะ การเรียนรู้ของนักเรียนกับวิชาศิลปะ และนำมาวางรูปแบบกิจกรรมในครั้งต่อไปเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน
     3. นวัตกรรมนี้ได้ปรับทัศนะคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาศิลปะ หลากหลายคนให้เป็นไปในแง่ที่ดีขึ้น โดยนักเรียนเพิ่มความเข้าใจที่ว่า ศิลปะไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนฝีมือ  ทุกคนสามารถสร้างงานออกมาให้ดีได้

ตัวอย่างผลงานของนักเรียน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น